วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

วรรณกรรมและวรรณศิลป์



วรรณกรรม (อังกฤษLiterature) หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก
ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่ ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
1.            ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
2.            ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
3.            ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1.            ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
2.            ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
มีความหมายตามนัยยะ หมายถึง กรรม ที่เกิดขึ้นจากต่างคน ต่างวรรณะ หมายความว่า วรรณะหรือชนชั้นต่างกันก็จะใช้คำต่างกัน คำคำนี้ มีปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475 คำว่า วรรณกรรม อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรูปศัพท์ว่า ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ (หนังสือ)ที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่างๆ นวนิยาย กาพย์กลอนต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับ วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรม วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป
ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรม วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป


               ประเภทของวรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
สารคดี หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งให้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์แก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจใช้รูปแบบร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้
บันเทิงคดี คือ วรรณกรรมที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน บันเทิงแก่เรื่องที่มีเหตุการณ์และตัวละครผู้อ่าน จึงมักเป็น

     วรรณศิลป์
               ลักษณะของ วรรณศิลป์

              1. อารมณ์สะเทือนใจ (Emotion)
              2. จินตนาการหรือความนึกคิด (Imagination)
              3. การแสดงออก (Expression)
  • แสดงภาพและความรู้สึกได้อย่างชัดเจนและแนบเนียน
  • แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของตัวละคร
  • แสดงให้เห็นนิสัยใจคอและบุคลิกภาพของตัวละคร
             4. ท่วงทำนองหรือท่วงท่าที่แสดงออก (Style)
  • ท่วงท่าที่เป็นส่วนรวม (racial style)
  • ท่วงท่าที่แสดงออกเฉพาะตน (personal style)
              5. กลวิธีในการแต่งหรือเทคนิค (Technique)
              6. องค์ประกอบ (Composition)

              โดยสรุปแล้ว งานแต่งที่มีวรรณศิลป์จนถึงขั้นที่เรียกว่าวรรณคดี จะต้องประกอบ ด้วยลักษณะของวรรณศิลป์ครบถ้วน 

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

วรรณคดีที่ฉันสนใจ


 มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องก์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นทั้งหมดด้วยพระองค์เองโดยไม่ได้อิงเนื้อหามาจากที่อื่น ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งเริ่มและจบลงในปี พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ และความเจ็บปวดจากความรัก
มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในด้านเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ และยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ประเภทบันเทิงคดีอีกด้วย

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่องแบ่งเป็นสองภาค คือภาคสวรรค์ และภาคพื้นดิน

ภาคสวรรค์ - กล่าวถึงสุเทษณ์เทพบุตร ซึ่งในอดีตชาตินั้นคือกษัตริย์แคว้นปัญจาล และนางมัทนา ซึ่งในอดีตชาติเป็นราชธิดาในกษัตริย์แคว้นสุราษฎร์ ซึ่งทั้งคู่ได้มาเกิดใหม่บนสวรรค์ สุเทษณ์เทพบุตรใฝ่ปองรักนางฟ้ามัทนา แต่ก็ไม่อาจจะสมรักด้วยกรรมที่เคยทำมาแต่อดีต ทำให้ไร้ซึ่งความสุขอย่างยิ่ง สุเทษณ์เทพบุตร จึงได้ให้วิทยาธรนามว่า "มายาวิน" ใช้เวทมนตร์คาถาไปสะกดเอานางมัทนาเข้ามาหา ก่อนที่มายาวินจะใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนา ได้ทูลสุเทษณ์เทพบุตรว่า การที่พระองค์ไม่อาจจะสมรักกับมัทนาได้ เป็นเพราะเมื่อชาติปางก่อน เมื่อพระองค์เป็นกษัตริย์แคว้นปัญจาลนั้น พระองค์ได้ไปสู่ขอมัทนาจากกษัตริย์แคว้นสุราษฎร์ผู้เป็นพระราชบิดา แต่ท้าวสุราษฎร์ไม่ให้ จึงเกิดรบกันขึ้น ในที่สุดท้าวสุเทษณ์แห่งแคว้นปัญจาลก็ชนะ จับท้าวสุราษฎร์เป็นเชลย และจะประหารชีวิตเสีย แต่นางมัทนาเข้ามาขอชีวิตพระราชบิดาไว้ และยอมเป็นบาทบริจาริกา ก่อนที่นางจะใช้พระขรรค์ปลงพระชนม์ตนเอง เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว นางมัทนาก็ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ ส่วนท้าวสุเทษณ์ก็ได้ทำพลีกรรมบำเพ็ญจนได้มาเกิดบนสวรรค์เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ดี สุเทษณ์เทพบุตร ก็ยังยืนยันจะให้มายาวินลองวิชาดูก่อน มายาวินจึงเรียกเอามัทนามาด้วยวิชาอาคม เมื่อมัทนามาแล้ว ด้วยมนต์ที่ผูกไว้ ทำให้ไม่ว่าสุเทษณ์เทพบุตรจะถามอย่างไร มัทนาก็ตอบตามเป็นคำถามย้อนไปอย่างนั้น เหมือนไม่มีสติ สุเทษณ์เทพบุตรขัดใจนักก็ให้มายาวินคลายมนต์ ครั้นมนต์คลายแล้ว มัทนาก็ตกใจที่ตนล่วงเข้ามาในวิมานของสุเทษณ์เทพบุตรโดยไม่รู้ตัว สุเทษณ์เทพบุตรพยายามจะฝากรักมัทนา แต่มัทนามิรักตอบ จะอย่างไรๆก็ไม่ยอมรับรัก จนสุเทษณ์เทพบุตรกริ้วจัด สาปส่งให้นางลงไปเกิดเป็น ดอกกุพชกะ คือ ดอกกุหลาบ อยู่ในแดนมนุษย์ และจะกลับคืนเป็นคนได้ก็ต่อเมื่อวันเพ็ญ เพียง 1 วัน 1 คืนเท่านั้น แล้วจะกลับคืนเป็นกุหลาบดังเดิม แต่หากนางได้รักบุรุษใดแล้ว เมื่อนั้นจึงจะคงรูปมนุษย์อยู่ได้ และหากเมื่อใดที่นางมีทุกข์เพราะรัก ก็จงขอประทานโทษมายังพระองค์พระองค์จะยกโทษให้


ภาคพื้นดิน - มัทนาได้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบอยู่ในป่าหิมวัน ในป่านั้นมีพระฤๅษีนามกาละทรรศินพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย พระกาละทรรศินได้เห็นกุหลาบมัทนาก็ชอบใจ สั่งให้ศิษย์ขุดเอากุหลาบมัทนาไปปลูกใหม่ไว้ใกล้อาศรม เมื่อถึงคืนวันเพ็ญ มัทนาก็กลายเป็นร่างมนุษย์มาคอยรับใช้พระกาละทรรศินและศิษย์ทั้งหลาย คอยปรนนิบัติเรื่อยมา พระกาละทรรศินก็รักมัทนาเหมือนลูกตัว
ต่อมาวันหนึ่ง ท้าวชัยเสนผู้ครองนครหัสดิน ได้เสด็จประพาสป่า ผ่านมายังอาศรมพระกาละทรรศิน ประจวบกับเป็นคืนวันเพ็ญ ก็ได้พบกับนางมัทนา ทั้งสองฝ่ายต่างรักกัน พระกาละทรรศินก็จัดพิธีอภิเษกให้ และนางมัทนาก็ได้เดินทางไปกับท้าวชัยเสน เข้าไปยังกรุงหัสดิน โดยไม่ได้กลับเป็นดอกกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนหลงรักนางมัทนามาก จนกระทั่งลืมมเหสีของตนคือนางจัณฑี พระมเหสีจัณฑีหึงหวงนางมัทนา ทั้งอิจฉาริษยาเป็นอันมาก ก็ทำอุบายใส่ร้ายนางมัทนาว่าเป็นชู้กับทหารเอกท้าวชัยเสนนามว่าศุภางค์ และยุยงท้าวมคธพระราชบิดาให้มาตีเมืองหัสดิน ท้าวชัยเสนออกไปรบ ครั้นเมื่อกลับมาได้ข่าวว่ามัทนาลอบเป็นชู้กับศุภางค์ก็กริ้วจัด สั่งประหารมัทนาเสียทันที แต่เพชฌฆาตได้ปล่อยนางหนีไปเพราะความสงสาร ส่วนศุภางค์นั้น ด้วยความจงรักภักดีต่อท้าวชัยเสน ก็ออกสนามรบกับท้าวชัยเสนเป็นครั้งสุดท้ายในฐานะไพร่ทหารเลว และตายในที่รบ
มัทนาหนีกลับมายังป่าหิมวัน และได้ทำพลีกรรม์บูชาสุเทษณ์เทพบุตร จนสุเทษณ์เทพบุตรเสด็จมา และเอ่ยปากจะช่วยให้คืนสวรรค์ สุเทษณ์เทพบุตรได้ขอความรักจากนางอีก แต่มัทนามิสามารถจะรักใครได้อีกแล้ว และปฏิเสธไป สุเทษณ์เทพบุตรกริ้วนัก จึงสาปนางให้เป็นกุหลาบไปตลอดชีวิต
ฝ่ายท้าวชัยเสน ต่อมาเมื่อรบชนะท้าวมคธ และได้รู้ความจริงทั้งหมด ก็กริ้วพระมเหสีจัณฑีมาก และได้ลงอาญาไป ก่อนจะออกไปตามหามัทนาในป่า แต่สิ่งที่พบ ก็เพียงแต่กุหลาบกอใหม่อันขึ้นอยู่ยังกองกูณฑ์บูชาสุเทษณ์เทพบุตรเท่านั้น ท้าวชัยเสนทำอะไรไม่ได้อีกต่อไป แต่ด้วยความรักสุดจะรัก จึงนำกุหลาบมัทนากลับไปปลูกใหม่ยังสวนขวัญกรุงหัสดิน



ความเป็นมาของวรรณคดีไทย


วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
== ประเภท ==... วรรณคดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • วรรณคดีมุขปาฐะ
คือ วรรณคดี แบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น
  • วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรคดีลายลักษณ์

วรรณคดีในภาษาไทย
  • วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
  • วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมสะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
วรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature ในภาษาอังกฤษ" โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาติน แปลว่า การศึกษา ระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้

อาชีพการประพัน


งานเขียนในสมัยใดสมัยหนึ่ง งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และผู้อ่านทั่วไป สำหรับในภาษาไทย วรรณคดี ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีความหมายคือ หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี นั้นคือมีการใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อผู้อ่าน ๆ แล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉยๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี

การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภท สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
  • วรรณคดีคำสอน
  • วรรณคดีศาสนา
  • วรรณคดีนิทาน
  • วรรณคดีลิลิต
  • วรรณคดีนิราศ
  • วรรณคดีเสภา
  • วรรณคดีบทละคร
  • วรรณคดีเพลงยาว
  • วรรณคดีคำฉันท์
  • วรรณคดียอพระเกียรติ
  • วรรณคดีคำหลวง
  • วรรณคดีปลุกใจ